MQ หรือ Moral Quentient คือความฉลาดทางคุณธรรม มุ่งเน้นการปลูกฝังความดีงาม มุ่งเน้นการปลูกฝังความดีงาม ตามหลักศีลธรรมจรรยา ช่วยให้เด็กมีจิตใจดี มองโลกในแง่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งเทคนิคการปลูกฝังให้ลูกมีน้ำใจและแบ่งปัน คือ 1.ไม่ต้องบังคับ 2.ต้องมาจากใจ 3.ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี และ 4.ชมเชยเมื่อเด็กมีน้ำใจและรู้จักแบ่งปัน
ชุด นิทานส่งเสริมด้านความมีน้ำใจ (7 เล่ม)
1. น้ำใจไม่มีวันหมด (ปกอ่อน) ราคาปกติ 125 บาท / 7.5X8.75 นิ้ว / 24 หน้า
2. กล้วย! (ปกอ่อน) ราคาปกติ 125 บาท / 8.16X9 นิ้ว / 28 หน้า
3. ความสุขของแม่ (ปกอ่อน) ราคาปกติ 95 บาท / 9X9 นิ้ว / 24 หน้า
4. ฮัมบี้ ขี้หวง Humbie is New Ball (ปกอ่อน) ราคาปกติ 95 บาท / 9X9 นิ้ว / 24 หน้า
5. นิ้งหน่องขี้หวง Ning Nong The Possessive Little Corythosaurus (Reading Pen) ไทย-อังกฤษ (ปกอ่อน) ราคาปกติ 135 บาท / 9X9 นิ้ว / 48 หน้า
6. เข้ให้ เข้หวง (ปกอ่อน) ราคาปกติ 95 บาท / 7.75X8.5 นิ้ว / 32 หน้า
7. ปาร์ตี้ของหมีน้อย (ปกอ่อน) ราคาปกติ 125 บาท / 8.5X9 นิ้ว / 28 หน้า
น้ำใจไม่มีวันหมด
• ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
• รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
• การแสดงน้ำใจต่อผู้อื่น
เรื่องย่อ : เราสามารถแสดงน้ำใจให้แก่ผู้อื่นได้หลากหลายวิธี ทั้งปลอบเพื่อนให้เพื่อนหายกลัว ช่วยกันเก็บขยะ ยิ้มแย้ม ทักทายเพื่อนใหม่ เป็นมิตรกับสัตว์น้อยใหญ่ พูดจาสุภาพ มีมารยาท รู้จักแบ่งปันและทำสิ่งดี ๆ รู้จักขอโทษและให้อภัยกัน ความมีน้ำใจช่างมากมาย และแบ่งปันให้กันได้ไม่มีวันหมดจริง ๆ
(ฉบับรีพิมพ์จากนิทานเพื่อนรักปีที่ 20 ฉบับที่ 119 เดือน มิถุนายน 2564)
หนังสือเล่มนี้ได้รางวัล :
- โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ


กล้วย
• ส่งเสริมทักษะทางสังคม ความมีน้ำใจ การแบ่งปัน
• พัฒนาอารมณ์ จิตใจ
• ส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา
นิทานน่ารักเล่มนี้มาพร้อมกับคำสั้นๆ คือ “กล้วย!” เหมือนกับชื่อเรื่อง แต่สาระในนิทานนั้นน่าสนใจมากค่ะ เพราะนิทานเรื่องนี้ดำเนินเรื่องด้วยคำหลักเพียงคำเดียวตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละหน้า มีเพียงภาพประกอบของเจ้าลิงเสื้อฟ้า กับเจ้าลิงเสื้อส้ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้เด็กอ่านจากภาพ และใช้จินตนาการในการทำความเข้าใจบทสนทนา ผ่านการอ่านกิริยาท่าทางของเจ้าลิงทั้งสองตัว คุณครู และผู้ปกครองเพียงแค่อ่านนิทานตามเนื้อเรื่อง โดยไม่ต้องอธิบายอะไรเพิ่มเติม ปล่อยให้เด็กๆ ได้จินตนาการทำความเข้าใจภาพด้วยตนเองก็พอค่ะ
"การให้" เป็นสิ่งที่แสดงถึงความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการแบ่งปัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เราต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็ก ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ที่ระบุไว้ว่าเด็กต้องมีความเมตตากรุณา มีน้ำใจ และช่วยเหลือแบ่งปัน สาระของนิทานเรื่อง "กล้วย!" จึงส่งเสริมเด็กให้เรียนรู้เรื่องการแบ่งปันผ่านการฟังนิทานและทำกิจกรรมต่อยอดจากนิทานค่ะ
(ฉบับรีพิมพ์จากนิทานเพื่อนรักปีที่ 18 ฉบับที่ 110 เดือน กุมภาพันธ์ 2563)
หนังสือเล่มนี้ได้รางวัล :
- โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ


ความสุขของแม่
แม่ของลาโมไม่สบาย จึงวานให้ลาโมนำของไปส่งให้ ระหว่างทางกลับบ้าน ลาโมเดินผ่านร้านขายเสื้อผ้า เธออยากซื้อเสื้อคลุมขนสัตว์ให้แม่ แม่ของเธอจะได้หายป่วยไวๆ แต่เธอมีเงินไม่พอจึงไม่สามารถซื้อให้แม่ได้ ลาโมเดินทางกลับบ้านต่อ เธอผ่านป้ายรถประจำทางและแวะสูดกลิ่นหอมของดอกไม้แถวนั้น พลันสายตาของเธอก็เห็นกระเป๋าสตางค์ตกอยู่ ข้างในมีเงินจำนวนมาก มากกว่าที่ลาโมเคยเห็นมาเสียอีก ลาโมจะทำอย่างไรกับเงินนี้ดีนะ
จุดเด่นของนิทานเล่มนี้ ผู้เขียนเป็นชาวภูฏาน ดังนั้นเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่จึงได้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวภูฏาน เช่น การแต่งกาย และภูมิประเทศอันงดงามของประเทศภูฏานที่ถ่ายทอดผ่านภาพประกอบในนิทานเล่มนี้
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เด็กๆ จะได้เรียนรู้ "สิ่งที่ถูกและผิด" เด็กปฐมวัยมีอัตราการเจริญเติบโตทุกด้านทั้งร่างกาย สังคม จิตใจและปัญญา เป็นช่วงเวลาที่โอกาสทองของการเรียนรู้เปิดกว้างเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งถ้าเด็กไม่ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ในช่วงวัยที่เหมาะสม ผ่านช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ ไปแล้ว การพัฒนาในภายหลังจะทำได้ค่อนข้างยาก ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลนั้น เด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี เป็นวัยที่จะรับกฎเกณฑ์และมาตรฐานทางจริยธรรมจากบิดามารดาและครู ในช่วงปฐมวัยนี้จึงถือได้ว่าเป็นระยะเวลาที่สำคัญที่สุดในการอบรมกล่อมเกลาและปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดี
(ฉบับรีพิมพ์จากนิทานเพื่อนรักปีที่ 19 ฉบับที่ 171 เดือน สิงหาคม 2563)
หนังสือเล่มนี้ได้รางวัล :
โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ


ฮัมบี้ ขี้หวง Humbie is New Ball
หนังสือนิทานคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริม MQ : ด้านความมีน้ำใจ
หนังสือนิทานเรื่องนี้ 1 ใน 8 คุณธรรมพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
" วันนี้...ฮัมบี้ได้ของขวัญชิ้นใหม่ ฮัมบี้ตื่นเต้นมากๆ เลย ว่าแต่ฮัมบี้จะแบ่งเพื่อนๆ แล่นไหมนะ "
เรื่องย่อ : นิทานฮัมบี้ขี้หวง ลักษณะนิทานประกอบภาพ ตัวละครคือฮัมบี้ แม่ และเพื่อนๆ แม่ซื้อลูกบอลใบใหม่มาให้ฮัมบี้ แต่เพื่อนๆ ขอให้ฮัมบี้แบ่งให้เล่นบ้าง แต่ฮัมบี้ไม่ยอมแบ่ง แล้วฮัมบี้ก็เห็นเพื่อนๆ เล่นโยนลูกมะพร้าวกันสนุกสนาน ฮัมบี้โยนลูกบอลไป แต่ก็ไม่มีใครส่งกลับมา ฮัมบี้รู้สึกไม่สนุกเลย ฮัมบี้จึงเข้าไปชวนเพื่อนๆ มาเล่นลูกบอลกัน ฮัมบี้รู้แล้วว่า การแบ่งกันเล่น สนุกกว่าการเล่นคนเดียวเยอะเลย *คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีอยู่ในเนื้อหา จำนวน 5 คำ


นิ้งหน่องขี้หวง Ning Nong The Possessive Little Corythosaurus (Reading Pen) ไทย-อังกฤษ
เรื่องย่อ : นิ้งหน่องเป็นลูกไดโนเสาร์พันธุ์โครีโทซอรัส เขามีของเล่นมากมาย แต่มักเล่นอยู่ตัวเดียวไม่เคยแบ่งให้เพื่อนๆ เล่นด้วยเลย และเขายังมีคุกกี้อร่อย ๆ กินทุกวัน แต่ก็ไม่เคยแบ่งให้เพื่อน ๆ กินเลย แต่แล้ววันหนึ่ง นิ้งหน่องก็ได้รู้ว่าการเล่นด้วยกันหลาย ๆ ตัวสนุกกว่าเล่นอยู่ตัวเดียวตั้งเยอะ และการแบ่งขนมให้เพื่อน ๆ กินก็อร่อยกว่ากินอยู่ตัวเดียวตั้งแยะ เอ...เพราะอะไรนะที่ทำให้นิ้งหน่องรู้จักการแบ่งปัน




เข้ให้ เข้หวง
หนังสือภาพน่ารักสำหรับเด็ก 3-5 ปี พัฒนาความฉลาดด้านอารมณ์ เปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนระหว่าง "การแบ่งปัน" และ "หวงของ" ว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร เพื่อให้เด็กๆ เห็นเป็นตัวอย่าง เข้าใจง้าย และสุดท้ายก็พร้อมแบ่งปันด้วยความเต็มใจ
เรื่องย่อ : จระเข้น้อยสองตัวมีนิสัยต่างกันสุดขั้ว เข้ให้ มีความสุขกับการให้และแบ่งปัน มีเพื่อนเล่นสนุกด้วยกันมากกมาย แล้ว เข้หวง ล่ะ เขาจะมีความสุขกับการหวงของเอาไว้คนเดียวไหมนะ
หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล :
- ได้รับการคัดเลือกหนังสือเด็กที่มีเนื้อหาส่งเสริมทักษะสมอง " Executive Functions - EF จัดโดยสถาบันรักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป
ปาร์ตี้ของหมีน้อย
นิทานเรื่องนี้เล่าถึงหมีน้อยผู้อยากให้งานวันเกิดของตนเป็นงานฉลองกับเพื่อนรักที่เรียบง่าย ไม่มีใครมาคอยจ้องมอง ในขณะที่เพื่อนๆ ของหมีน้อย อยากจะจัดงานปาร์ตี้วันเกิดแบบแฟนซีให้หมีน้อย เอ...แล้วนิทานเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร หมีน้อยจะได้ฉลองวันเกิดหรือเปล่านะ...
นิทานเรื่องนี้มีประเด็นให้เด็กๆ ฉุกคิด 2 เรื่อง คือ
• การเปิดใจยอมรับและกล้าที่จะลองสิ่งใหม่ๆ เหมือนกับหมีน้อยที่เริ่มแรกไม่อยากแต่งชุดแฟนซี เพราะกลัวจะถูกมองว่าเป็นตัวตลก แต่ท้ายที่สุด เมื่อได้ชุดที่ถูกใจ ก็สนุกกับงานวันเกิดแบบพิเศษที่เพื่อนๆ จัดให้
• การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ใส่ใจความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น เหมือนกับเพื่อนๆ ของหมีน้อยที่อยากจัดงานวันเกิดแบบพิเศษให้หมีน้อย โดยไม่ได้คิดถึงความชอบของหมีน้อยเป็นหลัก หมีน้อยจึงกังวลและเศร้าไปทั้งคืน
นอกจากความน่ารักของเนื้อเรื่องแล้ว ภาพประกอบในเล่มนี้ก็มีความน่ารักไม่แพ้กัน ด้วยลายเส้นที่เรียบง่าย เหมือนภาพวาดของเด็ก ซึ่งหลังจากอ่านนิทานเรื่องนี้จบแล้ว อาจจะชวนเด็กๆ ลองวาดภาพหมีน้อยและเพื่อนๆ กันค่ะ รับรองว่าสนุก!
(ฉบับรีพิมพ์จากนิทานเพื่อนรักปีที่ 18 ฉบับที่ 163 เดือน สิงหาคม 2562)
หนังสือเล่มนี้ได้รางวัล :
- โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart พ.ศ. 2563 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

