ตะกร้าสินค้า
cancel

My Cart

ยอดรวม

0.00 บาท

EF (Executive Functions) คืออะไร

วันที่ : 13/01/2020
remove_red_eye อ่านแล้ว : 14,413 คน
share แชร์

EF (Executive Functions) คืออะไร EF ช่วยพัฒนาทักษะด้านสมองในวัยเด็กไปสู่จุดที่เรียกว่า 21 Century skills หรือ ศตวรรษที่ 21 ได้จริงหรือ เรามีคำตอบค่ะ

ในช่วงสองสามปีมานี้ EF กลายเป็นคำยอดฮิตในวงการพัฒนาการเด็กเลยค่ะ ลองคิดถึงสถานการณ์เมื่อลูกโตขึ้นเป็นวัยรุ่น เขาอาจจะเจอปัญหาในเรื่องการเรียน หรือปัญหาชีวิตวัยรุ่นมากมาก แต่อะไรจะทำให้เขาหยุดคิด ไตร่ตรอง ไม่หุนหันพลันแล่น มีเป้าหมาย และมุ่งมั่นทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ คำตอบก็คือ EF ค่ะ  . .

EF (Executive Functions) คืออะไร
นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า EF (Executive Functions) เป็นความสามารถระดับสูงของสมองส่วนหน้า ที่ใช้ควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เป็นทักษะการคิดขั้นสูงของมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน ทำให้รู้สึกยั้งคิดยั้งใจ ชะลอความอยาก กำกับพฤติกรรมและอารมณ์ของเราได้ รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้


Executive Functions : สมอง ความคิด อารมณ์ การกระทำ และเป้าหมายเป้าหมาย

 


ทักษะสมอง EF ที่แข็งแรง ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด  เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง โดยเรียนรู้ผ่านการลงมือทำและประสบการณ์ที่หลากหลาย เมื่อฝึกจนแข็งแรง ทักษะ EF จะถูก “ฝังชิป” ในสมองและก็จะคงอยู่เป็นนิสัยหรือคุณสมบัติของคนนั้นไปตลอดชีวิต

EF เริ่มไว ได้เปรียบ
3-6 ปี ช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการพัฒนา EF เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนา EF ได้  แต่จะพัฒนาได้แค่ไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนผ่านประสบการณ์ต่างๆ ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และต่อไปยังวัยรุ่น

 


EF (Executive Functions) สำคัญต่อการพัฒนาเด็กอย่างไร
ถ้าพัฒนาทักษะ EF ในเด็กให้เต็มศักยภาพ จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเด็กและสังคม เพราะเขาจะ "คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่ร่วมกับคนอื่นเป็น และหาความสุขเป็น" ทักษะ EF จะเป็นตัวประคับประคองควบคุม ปรับพฤติกรรม ทำให้เขาจะดูแลตัวเองได้ เอาตัวรอดจากสถานการณ์ยากๆ ได้ และมีความสามารถในการมองไปข้างหน้า ตั้งเป้าหมาย วางแผน จัดการจดจ่อ อดทนได้ รอคอยเป็น ปรับเปลี่ยนความคิดยืดหยุ่นเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ไม่ยึดติดตายตัว รวมถึงล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ได้ ยืนหยัดที่จะทำงานตั้งแต่ต้นจนจบได้ และยังช่วยในการจัดการอารมณ์ จัดระบบความคิดไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างถูกต้อง และเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เหล่านี้จะทำให้เขาประสบความสำเร็จทั้งในการเรียน อาชีพการงาน การดูแลตนเอง และสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น เขาจะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ประสบความสำเร็จในอาชีพ และสามารถช่วยดูแลสังคมไทยต่อไปได้
 
ถ้า EF อ่อนแอ... ส่งผลต่อเด็กอย่างไร
ถ้าเด็กไม่ได้รับการฝึกฝน EF ที่ควรได้ ขาดสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ใหญ่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย หรือไม่มีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่หลากหลาย เช่น ถูกเร่งเรียน เขียน อ่าน จนไม่ได้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือสภาพแวดล้อมกลายเป็นตัวสร้างปัญหา เช่น การละเลย ละเมิด หรือดุด่าจนเครียด หรือใช้คำรุนแรง การพัฒนา EF ของเด็กนั้นก็จะช้าหรือบกพร่องเสียหายไป กระทบต่อโครงสร้างการทำงานของสมอง และการพัฒนา EF ในสมอง เช่น เด็กที่ขาดทักษะด้านการจดจ่อ ก็จะกลายเป็นเด็กที่สมาธิสั้น เรียนรู้ยาก เด็กที่ไม่มีทักษะวางแผนจัดการงาน ก็อาจจะทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จ เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ก็อาจกลายเป็นเด็กที่หุนหันพลันแล่น ก้ามร้าว ขาดวิจารณญาณ เสพติดสิ่งต่างๆ ง่าย หรือส่งผลต่อด้านกายภาพ เช่น เด็กที่ยับยั้งการกินไม่ได้ มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
 
ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา และงานวิจัยในต่างประเทศ ยืนยันว่า เด็กที่มีทักษะ EF บกพร่อง มีโอกาสเสี่ยงในการติดยาเสพติด ติดเกม ติดการพนัน และพาตัวเองไปสู่ภาวะเสี่ยงต่างๆ มากกว่าเด็กที่มีทักษะ EF เต็มศักยภาพถึง 7 เท่า เพราะขาดความยับยั้งชั่งใจ เมื่อเกิดความต้องการ เด็กก็จะเข้าไปหาโดยไม่คิดว่าถ้าทำสิ่งนี้จะเกิดผลอะไรตามมา
 
ในทางกลับกัน เด็กที่มีทักษะ EF ที่ดี เขาอาจจะพาตัวเองไปสู่ภาวะเสี่ยง แม้จะมีความอยากรู้อยากเห็นก็ตาม ซึ่งบางครั้ง ก็ยากที่ผู้ใหญ่จะห้าม แต่ถ้าเด็กที่มีทักษะ EF ที่ดี เขาจะสามารถยับยั้งความคิดชั่งใจ และการกระทำ (Inhibition) ทำให้เขารู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอะไร  ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) จะประมวลผลอย่างรวดเร็ว และพาตัวเองออกจากจุดเสี่ยงได้ทันเวลา หรือเมื่อเจอปัญหาอุปสรรค ตกอยู่ในภาวะเครียดตีบตัน เขาจะสามารถมีความคิดวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่น (Shifing หรือ Cognitive Flexibility) เปลี่ยนมุมมอง เป้าหมาย วิธีการ และกระบวนทัศน์ คิดสร้างสรรค์ หาทางเลือก/ทางออกอื่นๆ ให้กับชีวิตได้ ชีวิตก็จะง่ายขึ้น เขาจะไม่เป็นคนหัวชนฝา รู้จัดเคารพกติกา ตอบว่า "ไม่" เป็น แม่จะไม่เห็นด้วย แต่ก็ยังรักษาความคิดที่มีเสรีภาพของตนเอง นี่คงเป็นลักษณะของเด็กไทยที่เราอยากเห็น
 

คุณลักษณะของคนรุ่นใหม่ที่สังคมไทยยุค 4.0 กำลังต้องการ : การยับยั้งชั่งใจ,  การควบคุมอารมณ์, การคิดวิเคราะห์, การคิดสร้างสรรค์, การมีทักษะสังคมร่วมมือกับคนอื่น
 
 
ลักษณะบุคคลิกเมื่อ EF อ่อนแอ เช่น
• กำกับควบคุมตัวเองไม่ได้
• ขาดวิจารณญาณ ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ เสพติดสิ่งต่างๆ ได้ง่าย
• ขาดความสามารถในการคิด คาดการณ์ไปข้างหน้าไม่ได้
• ขาดความสามารถในการจัดระบบ และการจัดการสิ่งต่างๆ อย่างเหมาะสม
• ไม่สามารถจัดการกับความเครียด อารมณ์
• ขาดการวางแผนโครงการในระยะยาว
• ไม่สามารถจัดการเวลา
• ขาดความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ เฉพาะงานที่ใช้เวลายาวนาน
• ขาดการริเริ่มและลงมือทำงานให้สำเร็จ
 
 
องค์ประกอบของ EF
สถาบันรักลูกเลิร์นนิ่งกรุ๊ป จัดการความรู้และสรุปดังนี้ EF มีองค์ประกอบ 9 ด้าน จัดเป็น 3 กลุ่มทักษะ  (3x3) ตามภาพ
 

 
 
EF ทั้ง 9 ด้าน มีอะไรบ้าง ติดตามได้ในบทความถัดไปค่ะ
คลิก >
องค์ประกอบ 9 ด้าน EF (Executive Functions)

นิทานพัฒนาทักษะสมอง EF