♦ Social Emotional Learning (SEL) [ส่งเสริมลูกรักเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม]
การเรียนรู้ทางอารมณ์ และสังคม โดยเครือข่าย CASEL (The Collaborative for Academic,Social, and Emotional Learning)
ประกอบด้วย 5 ด้าน
1. การตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง (Self Awareness)
2. การจัดการตนเอง (Self-Management)
3. การตระหนักรู้เกี่ยวกับสังคม (Social Awareness)
4. ทักษะทางสัมพันธภาพ (Relationship Skills)
5. การตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Decision Making)
รายการอ้างอิง
Collaborative for Academic, Social, and Emotional Learning (CASEL). (n.d.). What is the CASEL framework. CASEL. https://casel.org/fundamentals-of-sel/what-is-the-casel-framework
นภัทร สิทธาโนมัย. (ม.ป.ป.). ทักษะอารมณ์และสังคมในเด็ก. แพทยสภา. https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-97.pdf
…………………………………………………………
1. นิทานสอนลูกรักให้รู้จักตนเอง (Self-Awareness)
ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ ความคิด การเห็นคุณค่าของตนเอง การตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อพฤติกรรมอย่างไร ตลอดจนการรับรู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และเป้าหมายของตนเอง การตระหนักรู้ในตนเองนั้นทำให้เด็กได้เข้าใจว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เชื่อมโยงความรู้สึก ค่านิยม และความคิด มีคุณธรรม และพัฒนาความสนใจของตนเองให้ไปถึงเป้าหมายได้
2. นิทานเสริมสร้างภูมิต้านทางด้านอารมณ์ (Self-Management)
ความสามารถในการจัดการอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมอย่างมีประสิทธิภาพในบริบทต่าง ๆ รวมไปถึงสามารถจัดการความเครียด ควบคุมและจูงใจตนเอง ตลอดจนสามารถตั้งเป้าหมาย และลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
3. นิทานส่งเสริมความเข้าใจในสังคม (Social Awareness)
ความสามารถในการเข้าใจมุมมองที่แตกต่างหรือมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นตลอดจนเรื่องความแตกต่าง ความหลากหลายของภูมิหลัง วัฒนธรรมและบริบทต่าง ๆ สามารถทำความเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากสังคม ค่านิยมที่แตกต่างกันได้
4. นิทานเสริมทักษะการตัดสินใจและมีความรับผิดชอบ (Responsible Decision Making)
ความสามารถในการรักษาและเลือกอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบนพื้นฐานของมาตรฐานทางจริยธรรม การคำนึงถึงความปลอดภัยและบรรทัดฐานทางสังคม รวมไปถึงสามารถในการพิจารณาถึงสุขภาวะของตนเองและผู้อื่นได้ ทั้งนี้เด็กจะมีทักษะการคิดตัดสินใจอย่างมีเหตุผลจากการวิเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณมีการคาดการณ์หรือประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำจึงสามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผล คำนึงถึงผลของการกระทำที่มีต่อตนเอง และส่วนรวม
5. นิทานเสริมสร้างความสัมพันธกับผู้อื่น (Relationship Skills)
ความสามารถในการสร้างสัมพันธ์ที่ดี เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และการสร้างความสัมพันธภาพที่มีประสิทธิภาพต่อบุคคลหรือกลุ่มสังคมผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การร่วมมือแก้ปัญหาในการทำงานร่วมกัน การแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนความสามารถในการแสดงออกถึงการปกป้องสิทธิ์ของผู้อื่น